คณะกรรมการบรรษัทภิบาล

 

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล

              ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566  คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ของบริษัท มีจำนวน  16 ท่าน ประกอบด้วย

รายชื่อ

ตำแหน่ง

1.       นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

ประธานกรรมการ

2.       นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ 1/

รองประธานกรรมการ

3.       ดร.ประมวล เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

4.       นางอรพิน เลี่ยวไพรัตน์

รองประธานกรรมการ

5.       นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

6.       นางสาวภัทรพรรณ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

7.       นายภากร เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

8.       นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

9.       นางณิธาวัน เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

10.    นางสาวมาลินี เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

11.     ดร. ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์

กรรมการ

12.    นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

13.    ดร. ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

14.    นายอร่าม เสนามนตรี 2/

กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ

15.    นายขันธ์ชัย วิจักขณะ

กรรมการอิสระ

16.    นายวันชัย มโนสุทธิ

กรรมการอิสระ

 

ขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อการมีธรรมาภิบาลที่ดีและเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
  2. พิจารณาให้ความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และทบทวนนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมถึงนโยบายและแนวปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทบนหลักบรรษัทภิบาลให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานด้านการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และนโยบายหรือแนวปฏิบัติอื่นใด ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทตามแนวธรรมาภิบาล ให้เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย
  3. ดูแลให้ฝ่ายจัดการนำนโยบายแนวปฏิบัติต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้แนวปฏิบัติดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่กำกับดูแล หรือ เกี่ยวข้องและเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล
  4. ติดตามและทบทวน แนวปฏิบัติและระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบาการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฏิบัติที่ดีตามที่ได้กำหนดไว้ และดูแลให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
  5. ติดตามและสั่งการ กรณีที่การปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการและพนักงานมีประเด็นเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่วางไว้
  6. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ รวมถึงบริษัทย่อย ตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และนโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทและบริษัทย่อย และประมวลผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการประจำปี นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทของปีถัดไป พร้อมทั้งนำเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะที่จำเป็น
  7. รายงานผลการปฏิบัติงานขององค์กร สนับสนุนการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการสื่อสารให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตระหนักและเข้าใจถึงนโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
  8. ขอความเห็นทาวิชาชีพจากบุคคลหรือองค์กรภายนอก เพื่อให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำที่เป็นอิสระเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการว่าจ้างบุคคลภายนอกเฉพาะคราว เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด และการว่าจ้างดังกล่าวจะเป็นผลดีแก่บริษัท
  9. รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  10. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลประจำปี และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท
  11. ปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และปฏิบัติการใด ๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ